กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)
Office Syndrome คือ กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยจากการทำงาน โรคในกลุ่มนี้มักจะเกิดจากการใช้งานท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง ภาวะเสียสมดุล เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ชา ไม่มีแรง กระดูกสันหลังคดงอ ปวดแขน ปวดมือ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ โรคประสาทหูเสื่อม เป็นต้น
อุบัติการ
พบอาการปวดในวัยทำงานถึง 60-70% ส่วนใหญ่พบในกลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงอายุระหว่าง 16-35 ปี ซึ่งเป็นการทำงานแข่งกับเวลา ส่วนกลุ่มคนทำงาน อายุ 55 ปีขึ้นไป มักมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากเป็นการทำงานที่ต้องรับผิดชอบการตัดสินใจเรื่องสำคัญ
สาเหตุของการปวด
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยส่วนบุคคล : อายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนลงพุง นิสัยส่วนบุคคลเป็นคนเคร่งเครียด วิตกกังวล สุขภาพร่างกายส่วนบุคคล
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : สถานที่ทำงานไม่เหมาะสม อยู่ในสถานที่คับแคบเกินไป ทำงานหักโหมมากเกินไป อุบัติเหตุระหว่างการทำงาน
ปัจจัยด้านจิตใจ : ความเครียดในการทำงาน ความรีบเร่ง ความเบื่อหน่ายในงาน
ปัจจัยส่งเสริม
- อยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง : ทำซ้ำๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น ท่ายื่นคอ ห่อไหล่ ท่านั่งโน้มตัวไป ข้างหน้า ท่ายกของไม่ถูกต้อง การใส่รองเท้าส้นสูง เตียงนอนที่นุ่มเกินไป
- ลักษณะงาน : ใช้แรงงานมาก งานที่มีแรงสั่นสะเทือนนาน
- คนอ้วน : พุงโย กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง
- ภาวะสุขภาพอื่นๆ : ภาวะซีด ไทรอยด์ต่ำ ขาดสารอาหาร การติดเชื้อ โรคเครียด โรคซึมเศร้า
- งานใหม่ : งานที่ไม่ถนัดหรือไม่เคยทำมาก่อน
- การใช้มากเกินไป : ทำงานในลักษณะเดิมนานเกินไป การงานท่าเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา
- อุบัติเหตุ : ลื่นล้มอย่างรุนแรง
วิธีการแก้ไขปัญหาอาการปวด
- พักผ่อน
- การใช้ยาลดปวด
- การทำกายภาพบำบัด
- การฝังเข็มคลายกล้ามเนื้อ ลดปวด
- อุปกรณ์พยุงหลัง
- การออกกำลังกาย
- การแก้ไขปัจจัยก่อเหตุ
- การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
การรักษาที่ได้ผลระยะยาว 2 สาเหตุหลัก
สภาพที่ทำงาน : ปรับสภาพที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องคอมพิวเตอร์
สภาพร่างกาย : จัดโครงสร้างร่างกายให้เหมาะสมในการทำงาน จัดระเบียบโครงสร้าง ฝึกzมดุลโครงสร้าง เพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงโดยออกกำลังกายแบบแอโรบิค
ถ้าไม่ดีขึ้น มีปัจจัยอื่นซ่อนเร้น
- ปริมาณงานที่มากเกินไป ทำเกินกำลัง
- ความเครียด (งาน เพื่อนร่วมงาน เรื่องส่วนตัว)
การป้องกันการปวด
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การทำงานหนักเกินกำลังนานๆ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด ความอ้วน
- รักษาท่วงท่าอิริยาบถให้เหมาะสมตามหลักชีวกลศาสตร์
- ปรับวิธีการยกของที่ถูกต้อง
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่เสี่ยงต่ออันตรายในการปฏิบัติงาน
- เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมถูกต้องและทุ่นแรงในการทำงาน
- ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
การดูแลในท่ายืน
- หลีกเลี่ยงการยืนในท่าที่ผิด
- พยายามเกร็งเขม่าพุงในทุกๆอิริยาบถ
- ยืนบนฐานที่กว้างพอ
- กระจายน้ำหนักตัวสลับแต่ละขาบ่อยๆแต่ไม่ลงน้ำหนักที่สะโพก
- วางขาบนม้าเล็กๆ กรณียืนนานๆ
- พยายามยืนย่อเข่าเล็กน้อย อย่าเหยียดเกร็งเข่าสุด
- สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม หัวรองเท้าไม่แคบเกินไป ส้นไม่สูงเกินไป
- พยายามขยับเขยื้อนตัวรอบๆ
- นั่งพัก 5 นาที ถ้ายืนนาน
- ยืนพิงฝาพนังและหย่อนหลังเป็นพักๆ
ท่านั่งที่เหมาะสม
- คอตรง
- พนักพิงหลังที่แข็งพอดี ทำมุม 90-100 °
- ข้อศอกงด 90° และมีที่วางแขน
- อยู่ในท่าหลังแอ่นตามธรรมชาติ
- งอสะโพกตั้งฉากกับหลัง
- สะโพกอยู่ในระดับเดียวกับเข่าหรือสูงกว่าเข่าเล็กน้อย
- ฐานเก้าอี้รองต้นขาพอดี ห่างจากข้อพับเข่า ~ 2 นิ้วมือ
- เท้ารองพอดีที่พื้นหรือมีม้ารอง
การดูแลในท่านั่ง
- คอตรง
- พนักพิงหลังที่แข็งพอดี ทำมุม 90-100 °
- ข้อศอกงด 90° และมีที่วางแขน
- อยู่ในท่าหลังแอ่นตามธรรมชาติ
- งอสะโพกตั้งฉากกับหลัง
- สะโพกอยู่ในระดับเดียวกับเข่าหรือสูงกว่าเข่าเล็กน้อย
- ฐานเก้าอี้รองต้นขาพอดี ห่างจากข้อพับเข่า ~ 2 นิ้วมือ
- เท้ารองพอดีที่พื้นหรือมีม้ารอง
ท่าที่ถูกต้องขณะทำงาน
ท่านอนเพื่อช่วยหย่อนกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
การลุกนั่งจากที่นอนที่ถูกต้อง
ท่ายืดกล้ามเนื้อในที่ทำงาน (Workplace exercise)
เอกสารอ้างอิง
1. Best Practice & Research Clinical Rheumatology Vol.22, No.4, pp. 677-691, 2008.
2. Musculoskeletal disorders and the workplace : low back and upper extremities/ Panel on Musculoskeletal Disorders and the Workplace, Commission on Behavioral and Social Sciences and Education, National Reseach Council and Institute of Medicine.
3. Low Back Syndromes : Integrated Clinical Management, Craig E. Morris 2006.
เรียบเรียงโดย : พญ. สุพรรณี อำนวยพรสถิตย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู