กายภาพบำบัด ชลบุรี แก้ปวดหลัง
คลินิกกายภาพบำบัด
คลินิกฝังเข็ม ชลบุรี
คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี

กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

15129

 กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

 Office Syndrome คือ กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยจากการทำงาน โรคในกลุ่มนี้มักจะเกิดจากการใช้งานท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง ภาวะเสียสมดุล เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ชา ไม่มีแรง กระดูกสันหลังคดงอ ปวดแขน ปวดมือ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ โรคประสาทหูเสื่อม เป็นต้น

กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

อุบัติการ

พบอาการปวดในวัยทำงานถึง 60-70% ส่วนใหญ่พบในกลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงอายุระหว่าง 16-35 ปี ซึ่งเป็นการทำงานแข่งกับเวลา ส่วนกลุ่มคนทำงาน อายุ 55 ปีขึ้นไป มักมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากเป็นการทำงานที่ต้องรับผิดชอบการตัดสินใจเรื่องสำคัญ

สาเหตุของการปวด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยส่วนบุคคล : อายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนลงพุง นิสัยส่วนบุคคลเป็นคนเคร่งเครียด วิตกกังวล สุขภาพร่างกายส่วนบุคคล
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : สถานที่ทำงานไม่เหมาะสม อยู่ในสถานที่คับแคบเกินไป ทำงานหักโหมมากเกินไป อุบัติเหตุระหว่างการทำงาน
ปัจจัยด้านจิตใจ : ความเครียดในการทำงาน ความรีบเร่ง ความเบื่อหน่ายในงาน
กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

ปัจจัยส่งเสริม

- อยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง : ทำซ้ำๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น ท่ายื่นคอ ห่อไหล่ ท่านั่งโน้มตัวไป ข้างหน้า ท่ายกของไม่ถูกต้อง การใส่รองเท้าส้นสูง เตียงนอนที่นุ่มเกินไป
- ลักษณะงาน : ใช้แรงงานมาก งานที่มีแรงสั่นสะเทือนนาน
- คนอ้วน : พุงโย กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง
- ภาวะสุขภาพอื่นๆ : ภาวะซีด ไทรอยด์ต่ำ ขาดสารอาหาร การติดเชื้อ โรคเครียด โรคซึมเศร้า
- งานใหม่ : งานที่ไม่ถนัดหรือไม่เคยทำมาก่อน
- การใช้มากเกินไป : ทำงานในลักษณะเดิมนานเกินไป การงานท่าเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา
- อุบัติเหตุ : ลื่นล้มอย่างรุนแรง
กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

วิธีการแก้ไขปัญหาอาการปวด

- พักผ่อน
- การใช้ยาลดปวด
- การทำกายภาพบำบัด
- การฝังเข็มคลายกล้ามเนื้อ ลดปวด
- อุปกรณ์พยุงหลัง
- การออกกำลังกาย
- การแก้ไขปัจจัยก่อเหตุ
- การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การรักษาที่ได้ผลระยะยาว 2 สาเหตุหลัก

สภาพที่ทำงาน : ปรับสภาพที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องคอมพิวเตอร์
สภาพร่างกาย : จัดโครงสร้างร่างกายให้เหมาะสมในการทำงาน จัดระเบียบโครงสร้าง ฝึกzมดุลโครงสร้าง เพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงโดยออกกำลังกายแบบแอโรบิค

ถ้าไม่ดีขึ้น มีปัจจัยอื่นซ่อนเร้น

- ปริมาณงานที่มากเกินไป ทำเกินกำลัง
- ความเครียด (งาน เพื่อนร่วมงาน เรื่องส่วนตัว)

การป้องกันการปวด

- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การทำงานหนักเกินกำลังนานๆ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด ความอ้วน
- รักษาท่วงท่าอิริยาบถให้เหมาะสมตามหลักชีวกลศาสตร์
- ปรับวิธีการยกของที่ถูกต้อง
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่เสี่ยงต่ออันตรายในการปฏิบัติงาน
- เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมถูกต้องและทุ่นแรงในการทำงาน
- ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงสม่ำเสมอ

การดูแลในท่ายืน

- หลีกเลี่ยงการยืนในท่าที่ผิด
- พยายามเกร็งเขม่าพุงในทุกๆอิริยาบถ
- ยืนบนฐานที่กว้างพอ
- กระจายน้ำหนักตัวสลับแต่ละขาบ่อยๆแต่ไม่ลงน้ำหนักที่สะโพก
- วางขาบนม้าเล็กๆ กรณียืนนานๆ
- พยายามยืนย่อเข่าเล็กน้อย อย่าเหยียดเกร็งเข่าสุด
- สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม หัวรองเท้าไม่แคบเกินไป ส้นไม่สูงเกินไป
- พยายามขยับเขยื้อนตัวรอบๆ
- นั่งพัก 5 นาที ถ้ายืนนาน
- ยืนพิงฝาพนังและหย่อนหลังเป็นพักๆ
กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

ท่านั่งที่เหมาะสม

- คอตรง
- พนักพิงหลังที่แข็งพอดี ทำมุม 90-100 °
- ข้อศอกงด 90° และมีที่วางแขน
- อยู่ในท่าหลังแอ่นตามธรรมชาติ
- งอสะโพกตั้งฉากกับหลัง
- สะโพกอยู่ในระดับเดียวกับเข่าหรือสูงกว่าเข่าเล็กน้อย
- ฐานเก้าอี้รองต้นขาพอดี ห่างจากข้อพับเข่า ~ 2 นิ้วมือ
- เท้ารองพอดีที่พื้นหรือมีม้ารอง
กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

การดูแลในท่านั่ง

- คอตรง
- พนักพิงหลังที่แข็งพอดี ทำมุม 90-100 °
- ข้อศอกงด 90° และมีที่วางแขน
- อยู่ในท่าหลังแอ่นตามธรรมชาติ
- งอสะโพกตั้งฉากกับหลัง
- สะโพกอยู่ในระดับเดียวกับเข่าหรือสูงกว่าเข่าเล็กน้อย
- ฐานเก้าอี้รองต้นขาพอดี ห่างจากข้อพับเข่า ~ 2 นิ้วมือ
- เท้ารองพอดีที่พื้นหรือมีม้ารอง
กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

ท่าที่ถูกต้องขณะทำงาน

กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

ท่านอนเพื่อช่วยหย่อนกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง

กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

การลุกนั่งจากที่นอนที่ถูกต้อง

กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

ท่ายืดกล้ามเนื้อในที่ทำงาน (Workplace exercise)

กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome) กลุ่มโรคจากการทำงาน (Office Syndrome)

เอกสารอ้างอิง

1. Best Practice & Research Clinical Rheumatology Vol.22, No.4, pp. 677-691, 2008.
2. Musculoskeletal disorders and the workplace : low back and upper extremities/ Panel on Musculoskeletal Disorders and the Workplace, Commission on Behavioral and Social Sciences and Education, National Reseach Council and Institute of Medicine.
3. Low Back Syndromes : Integrated Clinical Management, Craig E. Morris 2006.

เรียบเรียงโดย : พญ. สุพรรณี อำนวยพรสถิตย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู