กายภาพบำบัด ชลบุรี แก้ปวดหลัง
คลินิกกายภาพบำบัด
คลินิกฝังเข็ม ชลบุรี
คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี

การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง

     โรคปวดกล้ามเนื้อเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ซึ่งนิยามของโรคนี้ คือ กลุ่มอาการปวดจากปมกล้ามเนื้อหดตัวซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและแสดงอาการปวดออกมาเฉพาะแบบตามแต่กล้ามเนื้อนั้นๆ และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชา รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล

การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)

     โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 2.4:1 เท่า อายุที่พบบ่อยคือ ช่วงวัยทำงานเฉลี่ย 31-50 ปี และพบตามแกนกลางกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ เช่น คอ หลัง สะบัก ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังและเกิดภาวะซึมเศร้าตามมาทำให้การรักษายากขี้น

ปัจจัยกระตุ้น

- การบาดเจ็บรุนแรงเฉียบพลัน (Macrotrauma) เช่น อุบัติเหตุศีรษะกระแทก ทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่าไหล่หดเกร็ง หันคอไม่สุด รู้สึกมึนและวิงเวียนศีรษะ
- การบาดเจ็บไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง (Microtrauma) เช่น อยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน (เกร็งยักบ่าไหล่ ห่อไหล่) ยกของผิดท่า
- ความเครียด (Psychological stress) และความเร่งรีบในการทำงาน
- โรคเรื้อรังต่างๆ (Chronic illness) เช่น หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังคด
- โรคของต่อมไร้ท่อ(Endocrine disorder) เช่น วันหมดประจำเดือน โรคไทรอยด์
- แร่ธาตุและสารอาหารไม่เพียงพอ (Nutritional inadequate) เช่น วิตามิน กรดโฟลิก

การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)

การวินิจฉัย

     กดเจ็บเฉพาะที่ (Regional pain) คลำได้ก้อนเป็นปมแข็ง (Taut band) และแสดงอาการปวดร้าวไปตามอาการที่ปรากฏ (Reproducible refer pain) จำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ก่ออาการนั้นๆ

วิธีการรักษา

1. กำจัดปมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งที่เกิดขึ้น ได้แก่

- การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching exercise)
- การนวด (Massage)
- การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Relaxation technique)
- การใช้เข็มคลายกล้ามเนื้อ (Dry needling puncture)
- การฉีดยาชาเฉพาะจุดไปที่บริเวณกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Xylocaine injection)

การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)

ข้อแตกต่างระหว่างการฝังเข็มแบบตะวันตกและแบบตะวันออก

การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)

การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling puncture)

     เป็นการฝังเข็มเฉพาะจุดที่เป็นปมกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง ซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและก่อให้เกิดอาการปวดดังที่ได้กล่าวเบื้องต้น การฝังเข็มทำให้เกิดการคลายตัวของปมกล้ามเนื้อและมีการเรียงตัวใหม่ของใยกล้ามเนื้อ รวมทั้งทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงบริเวณดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้นทำให้นำพาของเสียที่เกิดขึ้นออกนอกกล้ามเนื้อ และมีการหลั่งโพแทสเซียมจากกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ช่วยระงับปวดได้ดีขึ้น

     ข้อดี คือ ได้ผลดีมากในกลุ่มโรคปวดกล้ามเนื้อจากกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นปม (Myofascial pain syndrome) ใช้จำนวนเข็มไม่มาก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้ากระตุ้น คลายปมกล้ามเนื้อได้ตรงจุด ใช้เวลาในการรักษาไม่นาน
     ข้อเสีย คือ อาจมีอาการระบมเข็มหลังจากฝัง ประมาณ 1-2 วัน เนื่องจากเข็มที่ฝังไม่มียาชา และการฝังจะมีการปักขึ้นลงบริเวณกล้ามเนื้อนั้นจนปมกล้ามเนื้อคลายตัวหมด ซึ่งหากมีปมมากก็จะมีอาการระบมเข็มตามมามากเช่นกัน ซึ่งการทานยาลดอักเสบหรือประคบร้อนจะช่วยลดอาการดังกล่าว

การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)การฝังเข็มในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Dry needling puncture in Myofascial pain syndrome)

การฝังเข็มแบบตะวันออก

     เป็นการฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย ยินและหยาง มีการใช้จุดฝังเข็มทั้งจุดใกล้และจุดไกลเพื่อปรับสมดุลซึ่งต้องมีการวิเคราะห์โรคแบบจีนจากอาการของผู้ป่วย แมะชีพจรและตรวจดูลิ้น อาจใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและลดปวดร่วมด้วย

     ข้อดี คือ ใช้รักษาโรคได้หลากหลายโรคประมาณ 30 กว่าโรคตาม WHO รับรอง (ดูในบทความข้อบ่งชี้ในการฝังเข็ม)
     ข้อเสีย คือ ใช้เข็มปริมาณมากกว่าและใช้เวลาในการฝังเข็มนานกว่า ประมาณครั้งละ 20-30 นาที ต้องฝังแบบต่อเนื่องเพื่อปรับสมดุล ประมาณ 5-10 ครั้ง/คอร์ส นาน 2-3 คอร์ส แล้วแต่อาการและกลุ่มโรค

2. หาสาเหตุและแก้ปัจจัยกระตุ้นที่เป็นต้นเหตุเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่

- การปรับท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน ปรับโต๊ะ เก้าอี้ที่ทำงาน
- หาวิธีกำจัดความเครียด ฝึกผ่อนคลาย
- การแบ่งงานเป็นกะ ไม่ทำงานหักโหมเกินไป
- การออกกำลังแบบแอโรบิก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นการผ่อนคลาย
- การออกกำลังกายเฉพาะส่วน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ทนต่องานมากขึ้น เช่น กล้ามเนื้อบริเวณบ่าไหล่ หลังส่วนบน
- การทำกายภาพบำบัด เพื่อรักษาต้นเหตุของโรคบางกลุ่ม เช่น การดึงคอ ดึงหลังในกลุ่มโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง กลุ่มโรคจากการทำงาน : office syndrome)

เอกสารอ้างอิง

1. Travell & Simons’ Myofascial Pain and Dysfunction: Trigger Point Manual, 2nd edition, 1999.
2. Li Shizhen’ Clinical Application of Commonly Used Acupuncture Points, 2007.
3. Neck and Arm Pain Syndromes : Evidence-informed screening, diagnosis and management, 2011.
4. Myofascial Pain Syndrome ; ผ.ศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช

เรียบเรียงโดย : พญ. สุพรรณี อำนวยพรสถิตย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู