กายภาพบำบัด ชลบุรี แก้ปวดหลัง
คลินิกกายภาพบำบัด
คลินิกฝังเข็ม ชลบุรี
คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี

ข้อบ่งชี้ในการฝังเข็มตามการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization)

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

- ใจสั่น
- ความดันโลหิตสูง
- ความดันโลหิตต่ำ
- โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคระบบการเคลื่อนไหว

- กระดูกคอเสื่อม
- กล้ามเนื้อคออักเสบ
- เส้นเอ็นอักเสบของข้อศอก
- คอแข็งเกร็ง
- ข้อไหล่อักเสบ
-ข้อไหล่ยึดติด
- กล้ามเนื้อหลังส่วนเอวอักเสบเฉียบพลัน

โรคระบบการย่อยอาหาร

- โรคนิ่วน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ
- โรคท้องผูก
- อุจจาระ.ร่วง
- แผลกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น
- กรดไหลย้อน

โรคระบบสูติ – นรีเวช

- ปวดประจำเดือน
- มดลูกเลือดออกผิดปกติ
- ไม่มีรอบเดือน
- รอบเดือนผิดปกติ
- กลุ่มอาการวัยใกล้หมดประจำเดือน
- ภาวะมีบุตรยาก
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
- แพ้ท้อง
- ภาวะน้ำนมไม่พอเพียง

โรคระบบต่อมไร้ท่อ

- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป
- ภาวการณ์ทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยเกินไป
-สิว ฝ้า

กลุ่มโรคระบบประสาทวิทยา - อัมพฤต อัมพาตจากโรคเส้นเลือดสมอง
- ปวดประสาทไซแอทติค (ปวดหลังร้าวลงขา)
- ปวดศีรษะ
- ปวดประสาทด้านข้างลำตัว
- อัมพาตใบหน้า
- ปวดประสาทใบหน้า
- นอนไม่หลับ
- โรคพาร์กินสัน

โรคระบบทางเดินหายใจ

- อาการไอ
- โรคหอบหืด
- หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

- ปัสสาวะรดที่นอน
- ปัสสาวะค้าง
- นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- ต่อมลูกหมากอักเสบ
- ภาวะอสุจิเคลื่อน
- ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

โรคระบบหู คอ จมูก

- อาการวิงเวียนศีรษะ
- โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ
- โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
- กล่องเสียงและคออักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง
- หูอื้อ และหูหนวก
- ความผิดปกติของข้อต่อกระดูกขากรรไกร

โรค และอาการโรคอื่น ๆ

- ลมพิษ
- สะอึก
- ไข้สูง
- พิษสุราเรื้อรัง
- การติดสารเสพติด
- การเสพติดบุหรี่
- ปวดฟัน

โรคที่ได้ผลดีในการฝังเข็มแนวตะวันออก (ตามความคิดเห็นของผู้ฝัง)

1. กล้ามเนื้อคออักเสบ คอแข็งเกร็ง
2. อาการปวดร้าวจากเส้นประสาท เช่น ปวดคอร้าวลงแขน หรือ ปวดหลังร้าวลงขา
3. ข้อไหล่ยึดติด
4. ปวดศีรษะ
5. อัมพาตใบหน้า ปวดประสาทใบหน้า
6. นอนไม่หลับ
7. โรคท้องอืด กรดไหลย้อน
8. อาการวิงเวียนศีรษะ
9. อาการวัยทองหมดประจำเดือน
10. ภาวะเกร็งของกล้ามเนื้อ
11. ปวดประจำเดือน หรือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

เอกสารอ้างอิง

1. การฝังเข็ม-รมยา เล่ม 2 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 2553
2. Li Shizhen’ Clinical Application of Commonly Used Acupuncture Points, 2007.

เรียบเรียงโดย : สุพรรณี อำนวยพรสถิตย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู